วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


วันพุธที่ 16มกราคม พ.ศ. 2556

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 2204

เวลาเรียน 8.30 - 12.20 น.

ครั้งที่ 11





ไม่มีการเรียนการสอนเพราะเป็นวันครู จึงเข้าร่วมพิธิวันครูที่ห้องประชุมคณะศึกษษศาสตร์





วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ พ.ศ. 2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษาและวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ ควบคุม จรรยาและวินัยของครูรักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัว ได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู
ด้วยเหตุนี้ในทุกปี คุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และชักถามปัญหาข้อข้องใจต่างๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัย สถานที่ ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา
ปี พ.ศ. 2499 ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า
"ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณ เป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมี สักวันหนึ่งสำหรับให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายได้แสดงความเคารพ สักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับ คนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละ ทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง"
จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่นๆ ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึก ถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดี เพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมากในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มีวันครูเพื่อเสนอ คณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริม ความเข้าใจอันดีระหว่างครูกับประชาชน
การจัดงานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้ ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงานวันครูนี้ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือ หนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างเป็นถาวรวัตถุ
การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลา ในปัจจุบันได้จัดรูปแบบ การจัดงานวันครูจะมีกิจกรรม 3 ประเภทหลักดังนี้
  • กิจกรรมทางศาสนา
  • พิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตน การกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์
  • กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู ส่วนมากเป็นการแข่งขันกีฬาหรือการจัดงานรื่นเริงในตอนเย็น






ความหมายของครู
ครู" ความหมายตามพจนานุกรม หมายถึง ผู้สั่งสอนศิษย์หรือผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์ (ราชบัณฑิตตยสถาน,2546,หน้า225)
          "ครู" ความหมายตามแนวคิดปรัชญาพื้นฐาน
ลัทธิจิตนิยม : ครูคือผู้อาวุโสที่มีความรู้และประสบการณ์ เป็นผู้ที่มีความประพฤติเป็นแบบอย่างที่ดีตามหลักเกณฑ์ของศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม วัฒนธรรม ประเพณี กฏระเบียบและมารยาทสังคม
ลัทธิสัจนิยมหรือวัตถุนิยม : ครูคือ ผู้สอน ผู้บรรยาย ผู้สาธิต โดยพยายามโน้มน้าว อ้างอิง และยกเหตุผลอรรถธิบายให้เห็นถึงความจริงของสรรพสิ่งทั้งหลาย
ลัทธิโทมัสนิยมใหม่ : ครูคือผู้กำหนดกรอบความคิด กรอบความรู้ เป็นผู้ชี้นำทางความคิด แล้วให้ผู้อื่นเชื่อตาม คิดตาม และปฏิบัติตาม
          "ครู" ความหมายตามแนวคิดปรัชญาพื้นฐาน
ลัทธิประสบการณ์นิยม : ครูคือ ผู้จัดการเรียรู้ที่มุ่งเน้นการสร้างบรรยากาศ และจัดกิจกรรมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์
ลัทธิอัตถิภาวะนิยม : ครู คือ ผู้กระตุ้นหรือผู้เร้าความสนใจผู้เรียนให้มีความกระตือรือร้นและเชื่อว่าตนเองสามารถค้นหาความรู้จากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ ได้ด้วยตนเองและสามารถสร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง
          "ครู" ความหมายตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
"ไทยเราเคารพยกย่องครูมาก สงเคราะห์ครู เข้าในบุพการีจากบิดามารดาไม่ว่าผู้ใด แม้มียศศักดิ์อำนาจเพียงใด ก็ยังยำเกรงเชื่อฟังครู ไม่ลบหลู่ไม่ลืมครู เพราะเราถือว่าครูเป็นผู้ปลูกฝังทั้งความรู้และความดีให้แก่เราเป็นผู้ที่ปั้นเราให้เป็นคนดีมีประโยชน์"              
"ครูเป็นผู้ถ่ายทอดวิชาการและเป็นผู้ถ่ายทอดความประพฤติ วิธีประพฤติตน วิธีคิดและความดีงามทุกอย่าง ซึ่งจะสร้างให้บุคคลเป็นคนดี เป็นคนที่ไม่เป็นภัยต่อผู้อื่น ตรงข้ามคือเป็นผู้ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น ต่อส่วนรวม และตัวเอง ก็จะได้รับประโยชน์ว่าเป็นคนที่เจริญ"
"คำว่าครูนั้นสูงยิ่ง เพราะถือว่าเป็นผู้ที่ได้รับการเคารพบูชาได้ ฉะนั้นได้ชื่อหรือเรียกตัวว่าเป็นครู ก็จะต้องบำเพ็ญตนให้ดี บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ บำเพ็ญตนให้เป็นที่นับถือได้ เพราะว่าผู้ใดเป็นครูแล้วไม่บำเพ็ญตนให้เป็นที่นับถือได้ดีเท่ากับบกพร่อง"
          "ครู" ความหมายตามพราะราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ หมายถึง บุคลากรวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน
          ความหมายของคำว่า "ครู" มีความหมายที่บ่งบอกถึงหน้าที่ของครูที่มีต่อศิษย์ ซึ่งศิษย์ของครูคือ อนาคตของชาติ ดังนั้นครูจึงเป็นผู้กำหนดอนาคตของชาติ ฉันในฐานะครูผู้หนึ่ง จะนำความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพครูมาเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพและจะนำ มาปฏิบัติเพื่อที่จะทำให้ตนเองเป็นครูที่ดี ประเภทแก่นครู เป็นครูที่มีคุณธรรมของความเป็นครู มีอุดมคติ และศัทธาในอาชีพครูอย่างแท้จริง ให้สมกับความหมายที่ยิ่งใหญ่ของคำว่า "ครู"
         


บทเพลงแด่ครูผู้มีแต่ให้





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น