วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2556

งานวิจัยเรื่องที่ 4  เรื่อง"การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการมีปัญหาทางการเรียนรู้ โดยใช้ชุดส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์"


ผู้แต่ง รักชนก  นามศรี



งานวิจัยเรื่องที่3  เรื่อง"การสร้างแบบทดสอบวัดความพร้อมทางการเรียนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย"

ผู้แต่ง คนึง  สายแก้ว


    การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างแบบทดสอบวัดความพร้อมทางการเรียนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบทดสอบเชิงรูปภาพ (Non Verdal Test) เพื่อวัดความพร้อมทางการเรียนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กก่อนเข้าเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สำหรับแบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเพื่อทดสอบประสิทธิภาพในครั้งนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 360 ข้อ นำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 จากโรงเรียนต่าง ๆ ที่สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาจังหวัดสุรินทร์ 9 โรงเรียน โดยทำการทดสอบเป็น 2 ครั้ง ในครั้งแรกทำการทดสอบนักเรียนจำนวน 20 คน เพื่อเป็นการทดสอบหาประสิทธิภาพของเครื่องมือ และหลังการทดสอบผู้วิจัยนำแบบทดสอบมาปรับปรุงแก้ไขเพื่อหาระดับความยากและค่าอำนาจจำแนกเป็นหลักในการพิจารณา และจากการทดสอบครั้งนี้ผู้วิจัยได้คัดเลือกข้อสอบไว้จำนวน 300 ข้อ จากนั้นนำไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่าง 120 คน หลังจากการทดสอบนำมาพิจารณาแก้ไขและนำไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างเดิมอีก 20 คน เพื่อปรับปรุงแก้ไขแบบทดสอบเป็นครั้งที่สอง ปรากฏผลดังนี้ ได้จำนวนแบบทดสอบที่ใช้ได้จำนวน 240 ข้อ ซึ่งมีค่าความยาก 20% ถึง 80% ค่าความเที่ยงเท่ากับ .90 นำแบบทดสอบมาจัดทำเป็นแบบทดสอบมาตรฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยต่อไป



งานวิจัยเรื่องที่2   เรื่อง"การพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยใช้หนังสือนิทานภาพและบัตรภาพ "


ผู้แต่ง พัฒราวดี  ทัดเทียม



    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของหนังสือนิทานภาพและบัตรภาพ และเพื่อเปรียบเทียบทักษะทางคณิตศาสตร์ที่เรียนโดยใช้หนังสือนิทานภาพและบัตรภาพระหว่างก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนบ้านนาดู่ ตำบลนาดี กิ่งอำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย ดำเนินการทดลองโดยใช้รูปแบบการทดลองแบบ One Group Pre – test Post – test Design เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย บัตรภาพ จำนวน 7 ชุด หนังสือนิทานภาพ จำนวน 7 เรื่อง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ซึ่งมีค่าความยากง่ายตั้งแต่ .53 - .80 มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่.27 - .80 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่า t ผลการวิจัยพบว่า 1.หนังสือนิทานภาพและบัตรภาพเพื่อพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.57/93.50 2.ทักษะคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาล 2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือภาพและบัตรภาพหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ






งานวิจัยเรื่อง1 เรื่อง"การจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถทางคณิตศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ของเด็กปฐมวัย"

ผู้แต่ง มะณีวัลย์ จันระวังยศ


     ศึกษารูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถทางคณิตศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย และศึกษาความสามารถทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ เนื้อหาที่ศึกษาประกอบด้วย ด้านการนับ ตัวเลข การจับคู่ การจัดประเภท และการศึกษาเพื่อความเข้าใจและอธิบายกระบวนการพัฒนาความสามารถทางคณิตศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ โดยนำรูปแบบการวิจัยปฏิบัติการในห้องเรียนมาให้เพื่อนครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยได้ทราบแนวทางการปรับบทบาทครูและการพัฒนาเด็ก โดยสามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับธรรมชาติและบริบทของเด็กปฐมวัย



















วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 2204
เวลาเรียน 8.30 - 12.20 น.



ครั้งที่ 16



คณิตศาสตร์มี 6 สาระ

สาระที่ 1  จำนวนและการดำเนินการ  

            - เข้าใจถึงความหลากหลายและการใช้จำนวนในชีวิตประจำวัน         

สาระที่ 2  การวัด

            - เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา

สาระที่ 3 เรขาคณิต

             - รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่งทิศทางและระยะทาง
             - รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิตและเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ

สาระที่ 4 พีชคณิต

               - เข้าใจรูปแบบและความสัมพันธ์

สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

               - รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อมนำเสนอ

สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์


วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 2204
เวลาเรียน 8.30 - 12.20 น.



ครั้งที่ 15

กลุ่มเพื่อนสอบสอน เรื่องสัตว์น่ารัก

สมาชิกกลุ่มคือ น.ส. วรรณพร จินดาพรหม   น.ส. ชฏารัตน์ ยาเขียว   น.ส. ณัฐพร ดอนโสม








อาจารย์ยกตัวอย่าง รูปแบบการสอนเด็ก







วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 2204
เวลาเรียน 8.30 - 12.20 น.


ครั้งที่ 14


เนื้อหาที่เรียน

หน่วยการเรียนคณิตศาสตร์
  1. วิทยาศาสตร์
  2. ภาษา                                       = ด้านร่างกาย
  3. ความคิดสร้างสรรค์            = ด้านอารมณ์
  4. สังคม                                       = ด้านสังคม                                                 = คิดสร้างสรรค์  =  ศิลปะ
  5. คุณธรรม                                = ด้านสติปัญญา   = ความคิด  = เหตุผล    = วิทยาศาสตร์
  6. จริยธรรม                                                                                 = ภาษา                                       = คณิตศาสตร์
  7. กาย


วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 2204

เวลาเรียน 8.30 - 12.20 น.


ครั้งที่ 13



การระดมความคิดของปฐมวัย

   - นิทานเวที
  - นิทรรศการสื่อ
  - เล่นดนตรี
  - ร้องเพลง
  - เล่านิทาน
  - เล่นเกม
  - รำ
  - งานศิลปะ
  - เต้น

1. การสอนเด็กต้องสอนเรื่องใกล้ตัวเด็ก
2. ประสบการณ์  คือ ต้องลงมือกระทำ เด็กจึงจะเกิดการเรียนรู้
3. การนับหรือการเรียง  ต้องเรียงจากซ้ายไปขวา เพื่อที่จะให้เด็กมีประสบการณ์เป็นพื้นฐานในการจำ
4. การวางตัวเลขจะวางไว้หน้าคำหรือหลังคำก็ได้แต่ต้องอยู่ในตำแหน่งเดียวกันกับคำนั้นๆ

5. การแยก     เป็นพื้นฐานของการลบ

6. การรวม     เป็นพื้นฐานของการบวก
7. ภาษา/คณิตศาสตร์    เป็นเครื่องมือที่พัฒนาการเรียนรู้ของมนุษย์
8. ถ้าเด็กยังไม่มีการลงมือกระทำ  แสดงว่า จะเป็นแค่เพียงการรับรู้เท่านั้น


      ร้องเพลง
      เล่านิทาน     =    3  อย่างนี้สามารถใช้ร่วมกันในการเล่านิทานได้
      เต้น

โอกาสที่เด็กจะทำได้มีสูงเพราะเด็กสามารถทำเป็นประจำได้ การลงมือกระทำจะประสบความสำเร็จดีมาก  

9. เครื่องมือที่การวัดที่เป็นทางการ  ไม่ควรนำม่ใช้กับเด็ก  เช่น  ไม้บรรทัด
10. ควรใช้เครื่องมือที่ไม่เป็นทางการ  เช่น  คืบ  ฝ่ามือ     
        - สาระที่ 2 การวัด  มาตรฐาน  เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดและความยาว
        - สาระที่ 3 เลขาคณิต   มาตรฐาน  รู้จักตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง รูปทรง 
        - สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น   มาตรฐาน  การนำเสนอข้อมูล / การรวบรวมข้อมูล
สิ่่งที่เด็กต้องรู้
  สิ่งของบางอย่างต่างกัน  สิ่งของบางอย่างเหมือนกัน เด็กจึงต้องดูและแยกแยะให้ได้ว่าต่างและเหมือนกันอย่างไร

วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2556

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 2204

เวลาเรียน 8.30 - 12.20 น.

ครั้งที่ 12


  อาจารย์ให้ทำมายแม็บ  เพื่อสาระการเรียนรู้  โดยแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน  กลุ่มดิฉันมี                                 


1. น.ส. ศริวรรณ ปานมุข 
2. น.ส พัชรินทรื แก้วปุ๋ย  
3. น.ส กรรจิรา สึกขุนทด 
4. น.ส ชิดชนก เสโส

   






วันพุธที่ 16มกราคม พ.ศ. 2556

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 2204

เวลาเรียน 8.30 - 12.20 น.

ครั้งที่ 11





ไม่มีการเรียนการสอนเพราะเป็นวันครู จึงเข้าร่วมพิธิวันครูที่ห้องประชุมคณะศึกษษศาสตร์





วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ พ.ศ. 2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษาและวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ ควบคุม จรรยาและวินัยของครูรักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัว ได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู
ด้วยเหตุนี้ในทุกปี คุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และชักถามปัญหาข้อข้องใจต่างๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัย สถานที่ ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา
ปี พ.ศ. 2499 ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า
"ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณ เป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมี สักวันหนึ่งสำหรับให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายได้แสดงความเคารพ สักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับ คนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละ ทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง"
จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่นๆ ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึก ถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดี เพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมากในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มีวันครูเพื่อเสนอ คณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริม ความเข้าใจอันดีระหว่างครูกับประชาชน
การจัดงานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้ ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงานวันครูนี้ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือ หนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างเป็นถาวรวัตถุ
การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลา ในปัจจุบันได้จัดรูปแบบ การจัดงานวันครูจะมีกิจกรรม 3 ประเภทหลักดังนี้
  • กิจกรรมทางศาสนา
  • พิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตน การกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์
  • กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู ส่วนมากเป็นการแข่งขันกีฬาหรือการจัดงานรื่นเริงในตอนเย็น






ความหมายของครู
ครู" ความหมายตามพจนานุกรม หมายถึง ผู้สั่งสอนศิษย์หรือผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์ (ราชบัณฑิตตยสถาน,2546,หน้า225)
          "ครู" ความหมายตามแนวคิดปรัชญาพื้นฐาน
ลัทธิจิตนิยม : ครูคือผู้อาวุโสที่มีความรู้และประสบการณ์ เป็นผู้ที่มีความประพฤติเป็นแบบอย่างที่ดีตามหลักเกณฑ์ของศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม วัฒนธรรม ประเพณี กฏระเบียบและมารยาทสังคม
ลัทธิสัจนิยมหรือวัตถุนิยม : ครูคือ ผู้สอน ผู้บรรยาย ผู้สาธิต โดยพยายามโน้มน้าว อ้างอิง และยกเหตุผลอรรถธิบายให้เห็นถึงความจริงของสรรพสิ่งทั้งหลาย
ลัทธิโทมัสนิยมใหม่ : ครูคือผู้กำหนดกรอบความคิด กรอบความรู้ เป็นผู้ชี้นำทางความคิด แล้วให้ผู้อื่นเชื่อตาม คิดตาม และปฏิบัติตาม
          "ครู" ความหมายตามแนวคิดปรัชญาพื้นฐาน
ลัทธิประสบการณ์นิยม : ครูคือ ผู้จัดการเรียรู้ที่มุ่งเน้นการสร้างบรรยากาศ และจัดกิจกรรมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์
ลัทธิอัตถิภาวะนิยม : ครู คือ ผู้กระตุ้นหรือผู้เร้าความสนใจผู้เรียนให้มีความกระตือรือร้นและเชื่อว่าตนเองสามารถค้นหาความรู้จากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ ได้ด้วยตนเองและสามารถสร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง
          "ครู" ความหมายตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
"ไทยเราเคารพยกย่องครูมาก สงเคราะห์ครู เข้าในบุพการีจากบิดามารดาไม่ว่าผู้ใด แม้มียศศักดิ์อำนาจเพียงใด ก็ยังยำเกรงเชื่อฟังครู ไม่ลบหลู่ไม่ลืมครู เพราะเราถือว่าครูเป็นผู้ปลูกฝังทั้งความรู้และความดีให้แก่เราเป็นผู้ที่ปั้นเราให้เป็นคนดีมีประโยชน์"              
"ครูเป็นผู้ถ่ายทอดวิชาการและเป็นผู้ถ่ายทอดความประพฤติ วิธีประพฤติตน วิธีคิดและความดีงามทุกอย่าง ซึ่งจะสร้างให้บุคคลเป็นคนดี เป็นคนที่ไม่เป็นภัยต่อผู้อื่น ตรงข้ามคือเป็นผู้ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น ต่อส่วนรวม และตัวเอง ก็จะได้รับประโยชน์ว่าเป็นคนที่เจริญ"
"คำว่าครูนั้นสูงยิ่ง เพราะถือว่าเป็นผู้ที่ได้รับการเคารพบูชาได้ ฉะนั้นได้ชื่อหรือเรียกตัวว่าเป็นครู ก็จะต้องบำเพ็ญตนให้ดี บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ บำเพ็ญตนให้เป็นที่นับถือได้ เพราะว่าผู้ใดเป็นครูแล้วไม่บำเพ็ญตนให้เป็นที่นับถือได้ดีเท่ากับบกพร่อง"
          "ครู" ความหมายตามพราะราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ หมายถึง บุคลากรวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน
          ความหมายของคำว่า "ครู" มีความหมายที่บ่งบอกถึงหน้าที่ของครูที่มีต่อศิษย์ ซึ่งศิษย์ของครูคือ อนาคตของชาติ ดังนั้นครูจึงเป็นผู้กำหนดอนาคตของชาติ ฉันในฐานะครูผู้หนึ่ง จะนำความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพครูมาเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพและจะนำ มาปฏิบัติเพื่อที่จะทำให้ตนเองเป็นครูที่ดี ประเภทแก่นครู เป็นครูที่มีคุณธรรมของความเป็นครู มีอุดมคติ และศัทธาในอาชีพครูอย่างแท้จริง ให้สมกับความหมายที่ยิ่งใหญ่ของคำว่า "ครู"
         


บทเพลงแด่ครูผู้มีแต่ให้






วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 2204

เวลาเรียน 8.30 - 12.20 น.


ครั้งที่ 10


จำนวน  =  วันนี้นักเรียนมากี่คน /ได้เงินมากี่บาท/จำนวนอาคารในโรงเรียน/ราคาข้าวในโรงอาหาร
การแทนด้วยตัวเลข = เขียน/นำสัญลักษณ์มาวาง


**การสร้างสื่อการสอน   อย่าสร้างให้ยึดติดกับผนัง  ต้องคำนึงถึงประโยชน์ในการใช้


วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2556

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 2204

เวลาเรียน 8.30 - 12.20 น.


ครั้งที่ 9


    อาจารย์ให้ไปทำงานคู่โดยให้วาดรูปยึดแบบวงกลมที่อาจารย์เคยให้ทำแบบวงกลม ซึ่งดิฉันคู่กับ  นางสาวศริวรรณ  ปานมุข และได้ทำเกมการศึกษา "หนอนน้อย"

วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 2204

เวลาเรียน 8.30 - 12.20 น.

ครั้งที่ 8


ไม่มีการเรียนการสอนเพราะตรงกับช่วงสอบกลางภาค

วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 2204

เวลาเรียน 8.30 - 12.20 น.

ครั้งที่ 7


  อาจารย์ให้ส่งวงกลมที่สั่งอาทิตย์ที่แล้ว คนที่ส่งงานครั้งนี้เป็นคนที่มีความรับผิดชอบแต่ถ้าคนที่ส่งงานแล้วทำผิดมาอาจจะไม่เข้าใจในคำสั่ง





          - มาตราฐาน นึกถึงคุณภาพ ตัวชี้วัด ตัววัดผล สถานศึกษา การสอบ สินค้า ผลิตภัณฑ์  
          - ภาษา เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ในการสื่อสาร
          - คณิตศาสตร์ เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ในการคำนาณและการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน
          - กรอบนึกถึงจำกัด ขอบเขต กฎเกณฑ์
           ศัตรูของความคิดสร้างสรรค์ คือการขาดความเชื่อมั่น

           ปัจจัยการขาดความเชื่อมั่น คือ ตัวครูไม่รู้จักรอคอย ไม่ให้เวลาเด็ก ครูต้องเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล
การใช้เหตุผล    พัฒนาการ    การอนุรักษ์    จำนวน    ค่า-ปริมาณ    ตัวเลข    สัญลักษณ์    รูปภาพ    ของจริง             รูปธรรม        กึ่งธรรม          นามธรรม
ของจริง รูปภาพ สัณลักษณ์ เป็นส่วนขยาย
รูปธรรม กึ่งธรรม นามธรรม    เป็นส่วนขยาย
การนับสิ่งของ
การเพิ่มคือ บวก  การลดคือ ลบ
คณิตศาสตร์  จับคู่ ขนาด รูปทรง
                      วงกลม ไม่มีมุม ไม่มีเหลี่ยม เป็นพื้นที่ปิด
                       พื้นที่    ไม่มีส่วนเกิน
                       ปริมาณ  ไม่มีส่วนเหลือ

กรอบมาตราฐาน โดย สสวท.


มาตราฐานที่ 1 จำนวนและดำเนินการ
                         เป็นความหลากหลายรู้ถึงค่าและดำเนินการและการแสดงจำนวน โดย เขียน พูด และบัตรตัวเลขแทนค่า
มาตราฐานที่ 2 การวัด
                         การใช้เครื่องมือเพือ่หาค่าหรือปริมาณ ทั้งน้ำหนัก ส่วนสูง เงิน เวลา(นาฬิกา) ปริมาณ
มาตราฐานที่ 3 เรขาคณิต
                         ตำแหน่งทิศทางและระยะทาง   ตำแหน่ง = หน้า หลัง นอก ใน    ทิศทาง = ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันตก ทิศตะวันออก     ระยะทาง = ใกล้ ไกล   และต้องรวมรูปทรงเลขาคณิตด้วย
มาตราฐานที่ 4 พีชคณิต
                         การเข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์  แบบรูปคือ แบบที่เขากำหนดแล้วให้เราทำตามแบบ
มาตราฐานที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
                         การรวบรวมข้อมูลต่างๆที่จะคำนาณ

วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 2204

เวลาเรียน 8.30 - 12.20 น.

ครั้งที่ 6


    อาจารย์ให้เขียนขอบข่ายคณิตศาสตร์เป็นคู่  ใช้สื่ออะไรก็ได้ คู่ของดิฉัน คือ นางสาวชิดชนก เสโส   ซึ่งได้เขียนขอบข่ายเรื่อง "เหรียญ" 
เหรียญ 10 บาท 2 เหรียญ
เหรียญ  5  บาท 2 เหรียญ
เหรียญ  2  บาท 2 เหรียญ
เหรียญ  1  บาท 2 เหรียญ

1. การนับ    นำเหรียญวางรวมกันทั้งหมดแล้วให้เด็กๆนับว่าเหรียญมีจำนวนทั้งหมดกี่เหรียญ
2. ตัวเลข     ครูนับเหรียญว่ามีจำนวนทั้งหมดและให้เด็กๆเขียนตามจำนวนที่ครูนับได้
3. การจับคู่  ครูให้เด้กๆจับคู่เหรียญที่เหมือนกัน
4. การจัดประเภท   ครูให้เด็กๆจัดประเภทเหรียญที่มีสีเหมือนกัน
5. การเปรียบเทียบ ครูให้เด็กๆเปรียเทียบว่าเหรียญไหนใหญ่ที่สุดเหรียยไหนเล็กที่สุด
6. การจัดอันดับ       ครูให้เด็กๆจัดอันดับเหรียญที่เล็กที่สุดไปหาเหรียญที่ใหญ่ที่สุด
7. รูปทรงและเนื้อที่ ครูให้เด็กๆบอกว่าเหรียญมีีูรูปทรงอะไร
8. การวัด ครูให้เด็กๆวัดความกว้างของเหรียญแต่ละเหรียญมีกี่เซนติเมตอกกับเด
9. เซต       ครูให้เด็กๆแบ่งเหรียญให้เป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 4 เหรียญ
10. เศษส่วน ครูให้เด็กๆแบ่งเหรียญเป็น 2 กอง แต่ละกองห้ามเท่ากัน
11. การทำตามแบบหรือลวดลาย ครูให้เด็กๆวาดรุปตามแบบเหรียญ
12. การอนุรักษ์หรือคงที่ด้านปริมา ให้เด็กๆดูว่าเหรียญมีรูปร่างเท่ากั



กิจกรรม

 - อาจารย์ให้หยิบกล่องคนละ 1 กล่อง แล้วจับคู่ช่วยกันคิดว่ากล่องสามารถสอนคณิตศาสตร์ได้อย่างไรบ้าง



  - แล้วให้จับกลุ่ม 5 กลุ่ม 10 คน เอากล่องแต่ละคนมาประกอบเป็นรูปร่าง






- นี่คือผลงานประดิษฐ์ของเพื่อนๆทั้ง 5 กลุ่ม




- แล้วจึงนำของเพื่อนทั้ง 5 กลุ่ม มาทำเป็นนิทรรศการ มีบ้านของหุ่นยนต์ 3 หลัง มีบ้านช้าง 1 หลัง มีสถานีรถไฟ รถไฟ และมีประตู 2 ประตู ทางเข้า-ออก


                           



                                   


  - อาจารย์สั่ง การบ้าน คือ ให้ตัดกระดาษจากกระดาษกล่องเป็นวงกลม ที่มีจุดผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว    1.5 นิ้ว และ 2 นิ้ว อย่างละ 3 สี มีสีเหลือง สีเขียวเข้มและสีชมพู รวมเป็น 9 ชิ้น 



    

วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 2204

เวลาเรียน 8.30 - 12.20 น.

ครั้งที่ 5



ไม่มีการเรียนการสอนเพราะตรงกับวันพ่อแห่งชาติ

ความเป็นมา


วันพ่อแห่งชาติ ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2523 โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษา หลักการและเหตุผลที่มีการจัดตั้งวันพ่อขึ้นแห่งชาติ เนื่องจากพ่อ เป็นบุคคลผู้มีพระคุณและมีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและสังคมที่ผู้เป็นลูกจะเคารพเทิดทูนและตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสังคมควรที่จะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อ จึงถือเอาวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเป็น "วันพ่อแห่งชาติ





กิจกรรมวันพ่อแห่งชาติจัดติดต่อกันทุกปีตั้งแต่ พ.ศ. 2523 โดยการริเริ่มของนายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษา คุณหญิงเนื้อพิทย์ เสมรสุตสัญลักษณ์ที่ใช้ในวันพ่อได้แก่ ดอกพุทธรักษาซึ่งมีชื่ออันเป็นมงคล

พระราชประวัติ




พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชสมภพในราชสกุลมหิดลอันเป็นสายหนึ่งในราชวงศ์จักรี ณ โรงพยาบาลเมาต์ออเบิร์น เมืองเคมบริดจ รัฐแมสซาชูเซตส สหรัฐอเมริกา เมื่อวันจันทร เดือนอ้าย ขึ้น 12 ค่ำ ปีเถาะ นพศก จุลศักราช 1289 ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ซึ่งเหตุที่พระราชสมภพในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากพระบรมราชชนกและพระบรมราชชนนีกำลังทรงศึกษาวิชาการอยู่ที่นั่น
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเป็นพระโอรสองค์ที่สามในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ในกาลต่อมา) และหม่อมสังวาลย์ ตะละภัฎ (ชูกระมล) (สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนน ในกาลต่อมา) มีพระนามขณะนั้นว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช มีพระเชษฐภคินีและสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช 2 พระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ซึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงออกพระนามเรียกพระองค์เป็นการลำลองว่า "เล็ก"
พระนาม "ภูมิพลอดุลเดช" นั้น พระบรมราชชนนีได้รับพระราชทานทางโทรเลขจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2470 โดยทรงกำกับตัวสะกดเป็นอักษรโรมันว่า "Bhumibala Aduladeja" ทำให้สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนทรงเข้าพระทัยว่าได้รับพระราชทานนามพระโอรสว่า "ภูมิบาล"ในระยะแรกพระนามของพระองค์สะกดเป็นภาษาไทยว่า "ภูมิพลอดุลเดช" ต่อมา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเองทรงเขียนว่า "ภูมิพลอดุลเดช" โดยทรงเขียนทั้งสองแบบสลับกันไป จนมาทรงนิยมใช้แบบหลังซึ่งมีตัว "ย" สะกดตราบปัจจุบัน 
พระนามของพระองค์มีความหมายว่า
  • ภูมิพล - ภูมิ หมายความว่า "แผ่นดิน" และ พล หมายความว่า "พลัง" รวมกันแล้วหมายถึง "พลังแห่งแผ่นดิน"
  • อดุลยเดช - อดุลย หมายความว่า "ไม่อาจเทียบได้" และ เดช หมายความว่า "อำนาจ" รวมกันแล้วหมายถึง "ผู้มีอำนาจที่ไม่อาจเทียบได้"
เมื่อ พ.ศ. 2471 ได้เสด็จกลับสู่ประเทศไทยพร้อมพระบรมราชชนก ซึ่งทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิตเกียรตินิยมจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ และสมเด็จพระเชษฐาธิราช โดยประทับ ณ วังสระปทุม ต่อมาวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2472 สมเด็จพระบรมราชชนกสวรรคต ขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระชนมายุไม่ถึงสองพรรษา

การศึกษา

พ.ศ. 2475 เมื่อเจริญพระชนมายุได้สี่พรรษา เสด็จเข้าศึกษาที่โรงเรียนมาแตร์เดอี จนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2476 จึงเสด็จพระราชดำเนินไปประทับ ณเมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด พร้อมด้วยพระบรมราชชนนี พระเชษฐภคินี และสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช เพื่อการศึกษาและพระพลานามัยของสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช จากนั้นทรงเข้าศึกษาต่อชั้นประถมศึกษา ณ โรงเรียนเมียร์มองต์ เมืองโลซาน ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2477 ทรงศึกษาวิชาภาษาฝรั่งเศสภาษาเยอรมัน และภาษาอังกฤษ แล้วทรงเข้าชั้นมัธยมศึกษา ณ "โรงเรียนแห่งใหม่ของซืออีสโรมองด์" (ฝรั่งเศส: École Nouvelle de la Suisse Romande, เอกอล นูแวล เดอ ลา ซืออีส โรมองด์) เมืองแชลลี-ซูร์-โลซาน (ฝรั่งเศส: Chailly-sur-Lausanne)
เมื่อพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรีพระองค์ก็ได้รับการสถาปนาฐานันดรศักดิ์เป็น "สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลเดช" เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478
เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2481 ได้โดยเสด็จฯ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จนิวัตประเทศไทย เป็นเวลา 2 เดือน โดยประทับที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต จากนั้นเสด็จกลับไปศึกษาต่อที่สวิตเซอร์แลนด์จนถึงปี พ.ศ. 2488 ทรงรับประกาศนียบัตรทางอักษรศาสตร์ จากโรงเรียนยิมนาส คลาซีค กังโตนาล แล้วทรงเข้าศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยโลซาน แผนกวิทยาศาสตร์ โดยเสด็จนิวัตประเทศไทยเป็นครั้งที่สอง ประทับ ณ พระที่นั่งบรมพิมานในพระบรมมหาราชวัง





พระราชกรณียกิจ พระรานิพนธ์ และผลงานอื่น


ด้านศิลปวัฒนธรรมและวรรณคดี

ในฐานะที่พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ที่มีพระปรีชาสามารถในศิลปะแขนงต่าง ๆ หลายแขนง จึงทรงได้รับการยกย่องให้เป็นองค์อัครศิลปินแห่งชาติและบิดาแห่งการดนตรี พระองค์ยังทรงสนพระราชหฤทัยในการฝึกเขียนภาพ และมีพระปรีชาสามารถในเรื่องการถ่ายภาพ และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนมีพระปรีชาสามารถปั้นพระพุทธรูปพระสมเด็จจิตรลดาด้วยพระองค์เอง
งานทางด้านวรรณศิลป์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเชี่ยวชาญในภาษาหลากหลายภาษา ทรงพระราชนิพนธ์บทความ แปลหนังสือ เช่น นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ ติโต พระมหาชนก และพระมหาชนก ฉบับการ์ตูน เรื่อง ทองแดง เป็นพระราชนิพนธ์เกี่ยวกับคุณทองแดง สุนัขทรงเลี้ยง เป็นต้น





ด้านการพัฒนาชนบท

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ไปทุกหนแห่งไม่ว่าดินแดนแห่งนั้นจะทุรกันดารเพียงใด ไม่ว่าใกล้ไกลแค่ไหน พระองค์จัดทำโครงการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริควบคู่ไปในทุกๆ ด้าน ไม่เน้นด้านใดด้านหนึ่ง พระองค์มีจุดประสงค์เดียวคือ เพื่อขจัดความทุกข์ยากของชาวชนบท และสนับสนุนส่งเสริมให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น รวมทั้งแก้ปัญหาสังคมเมืองให้ดีขึ้น โดยจะเห็นได้จากโครงการในพระราชดำริหลายโครงการที่เกิดขึ้นจากความรับผิดชอบของหน่วยงานต่างๆ
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริจะเป็นโครงการเกี่ยวกับปรับปรุงถนนหนทาง การก่อสร้างถนนเพื่อการ สัญจรไปมาได้สะดวกและทั่วถึง การคมนาคมเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ สำคัญของการนำความเจริญไปสู่ชนบท การสื่อสาร ติดต่อที่ดียังผล สำคัญทำให้เศรษฐกิจของราษฎรในพื้นที่ดีขึ้น ราษฎรก็มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ในการพัฒนาชนบทนั้น การคมนาคม เป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญที่จะมองข้ามไปเสียมิได้ เพราะเป็นเสมือนประตูเชื่อม ระหว่างในเมือง และชนบท ดังนั้น การที่จะเริ่มโครงการพัฒนาใดๆ นั้นจะต้องเริ่มจากการปรับปรุง และการก่อสร้างถนนหนทางเป็นการเปิดประตูนำความเจริญเข้าไปสู่พื้นที่
ด้านการเกษตรและชลประทานในด้านการเกษตร จะทรงเน้นในเรื่องของการค้นคว้า ทดลอง และวิจัยหาพันธุ์พืชใหม่ๆ ทั้งพืชเศรษฐกิจ พืชสมุนไพร รวมถึงการศึกษาเกี่ยวกับแมลงศัตรูพืช และพันธุ์สัตว์ต่างๆ ที่เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งแต่ละโครงการจะเน้นให้สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง มีราคาถูก ใช้เทคโนโลยีง่าย ไม่สลับซับซ้อน เกษตรกรสามารถดำเนินการเองได้ นอกจากนี้ ยังทรงพยายามไม่ให้เกษตรกรยึดติดกับพืชผลทางการเกษตรเพียงอย่างเดียว เพราะอาจเกิดปัญหาอันเนื่องมาจากความแปรปรวนของสภาพดินฟ้าอากาศ หรือความแปรปรวนทางการตลาด แต่เกษตรกรควรจะมีรายได้จากด้านอื่นนอกเหนือไปจากการเกษตรเพิ่มขึ้นด้วย เพื่อจะได้พึ่งตนเองได้ในระดับหนึ่ง

การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกหรือการชลประทานนับว่าเป็นงานที่มีความสำคัญและมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับประชาชนส่วนใหญ่
ของประเทศเพราะเกษตรกรจะสามารถทำการเพาะปลูกได้อย่างสมบูรณ์ตลอดปีเนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นพื้นที่นอก
เขตชลประทานซึ่งต้องอาศัยเพียงน้ำฝนและน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติเป็นหลักทำให้พืชได้รับน้ำไม่สม่ำเสมอและไม่เพียงพอ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสนพระราชหฤทัยเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งน้ำมากกว่าโครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริประเภทอื่น







ด้านการแพทย์

โครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้กับประชาชนในระยะแรกๆ ล้วนแต่เป็นโครงการด้านสาธารณสุข เพราะพระองค์ทรงเห็นว่า หากประชาชนมีร่างกายที่สมบูรณ์ แข็งแรง จะนำไปสู่สุขภาพจิตที่ดี และส่งผลให้การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดีไปด้วย พระองค์จึงทรงให้ความสำคัญกับงานด้านสาธารณสุขเป็นอย่างมาก ในการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฏรตามท้องที่ต่างๆ ทุกครั้ง จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีคณะแพทย์ที่ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาจากดรงพยาบาลต่างๆ และล้วนเป็นอาสาสมัครทั้งสิ้น โดยเสด็จพระราชดำเนินไปในขบวนอย่างใกล้ชิด พร้อมด้วยเวชภัณฑ์และเครื่องมือแพทย์ครบครัน พร้อมที่จะให้การรักษาพยาบาลราษฎรผู้ป่วยไข้ได้ทันที

นอกจากนั้น ยังมีโครงการทันตกรรมพระราชทาน ซึ่งเป็นพระราชดำริที่ให้ทันตแพทย์อาสาสมัคร ได้เดินทางออกไปช่วยเหลือบำบัดโรคเกี่ยวกับฟัน ตลอดจนสอนการรักษาอนามัยของปากและฟัน แก่เด้กนักเรียนและราษฎรที่อาศัยอยู่ในท้องที่ทุรกันดาร และห่างไกลจากแพทย์ทั่วทุกภาค โดยให้การบริการรักษาโรคฟัน โดยไม่คิดมูลค่า ทางด้านหน่วยแพทย์หลวงที่จะต้องตามเสด็จพระราชดำเนินไป ณ ที่ประทับแรมทุกแห่งนั้น จะมีเจ้าหน้าที่ให้การรักษาพยาบาลราษฎร ผู้มาขอรับการรักษา ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่ประการใด นอกจากนั้น หน่วยแพทย์หลวงยังจัดเจ้าหน้าที่ออกเดินทาง ไปรักษาราษฎรผู้ป่วยเจ็บ ตามหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลออกไปอีกด้วย
ใน พ.ศ. 2554 ทางองค์กรแพทย์ศัลยศาสตร์จากทั่วโลก ต่างพร้อมใจกันถวายใบประกาศเกียรติคุณ เกียรติบัตรสมาชิกกิตติมศักดิ์ และเหรียญสดุดี จากคุณูปการด้านการแพทย์และสาธารณสุขที่พระองค์ทรงอุทิศเพื่อพสกนิกรชาวไทยตลอดระยะเวลากว่า 60 ปีที่ทรงครองราชย์