ผู้แต่ง รักชนก นามศรี
แฟ้มสะสมงานในรายวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กประปฐมวัย เทอม2/55
วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2556
งานวิจัยเรื่องที่ 4 เรื่อง"การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการมีปัญหาทางการเรียนรู้ โดยใช้ชุดส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์"
ผู้แต่ง รักชนก นามศรี
ผู้แต่ง รักชนก นามศรี
งานวิจัยเรื่องที่3 เรื่อง"การสร้างแบบทดสอบวัดความพร้อมทางการเรียนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย"
ผู้แต่ง คนึง สายแก้ว
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างแบบทดสอบวัดความพร้อมทางการเรียนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบทดสอบเชิงรูปภาพ (Non Verdal Test) เพื่อวัดความพร้อมทางการเรียนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กก่อนเข้าเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สำหรับแบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเพื่อทดสอบประสิทธิภาพในครั้งนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 360 ข้อ นำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 จากโรงเรียนต่าง ๆ ที่สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาจังหวัดสุรินทร์ 9 โรงเรียน โดยทำการทดสอบเป็น 2 ครั้ง ในครั้งแรกทำการทดสอบนักเรียนจำนวน 20 คน เพื่อเป็นการทดสอบหาประสิทธิภาพของเครื่องมือ และหลังการทดสอบผู้วิจัยนำแบบทดสอบมาปรับปรุงแก้ไขเพื่อหาระดับความยากและค่าอำนาจจำแนกเป็นหลักในการพิจารณา และจากการทดสอบครั้งนี้ผู้วิจัยได้คัดเลือกข้อสอบไว้จำนวน 300 ข้อ จากนั้นนำไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่าง 120 คน หลังจากการทดสอบนำมาพิจารณาแก้ไขและนำไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างเดิมอีก 20 คน เพื่อปรับปรุงแก้ไขแบบทดสอบเป็นครั้งที่สอง ปรากฏผลดังนี้ ได้จำนวนแบบทดสอบที่ใช้ได้จำนวน 240 ข้อ ซึ่งมีค่าความยาก 20% ถึง 80% ค่าความเที่ยงเท่ากับ .90 นำแบบทดสอบมาจัดทำเป็นแบบทดสอบมาตรฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยต่อไป
ผู้แต่ง คนึง สายแก้ว
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างแบบทดสอบวัดความพร้อมทางการเรียนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบทดสอบเชิงรูปภาพ (Non Verdal Test) เพื่อวัดความพร้อมทางการเรียนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กก่อนเข้าเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สำหรับแบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเพื่อทดสอบประสิทธิภาพในครั้งนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 360 ข้อ นำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 จากโรงเรียนต่าง ๆ ที่สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาจังหวัดสุรินทร์ 9 โรงเรียน โดยทำการทดสอบเป็น 2 ครั้ง ในครั้งแรกทำการทดสอบนักเรียนจำนวน 20 คน เพื่อเป็นการทดสอบหาประสิทธิภาพของเครื่องมือ และหลังการทดสอบผู้วิจัยนำแบบทดสอบมาปรับปรุงแก้ไขเพื่อหาระดับความยากและค่าอำนาจจำแนกเป็นหลักในการพิจารณา และจากการทดสอบครั้งนี้ผู้วิจัยได้คัดเลือกข้อสอบไว้จำนวน 300 ข้อ จากนั้นนำไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่าง 120 คน หลังจากการทดสอบนำมาพิจารณาแก้ไขและนำไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างเดิมอีก 20 คน เพื่อปรับปรุงแก้ไขแบบทดสอบเป็นครั้งที่สอง ปรากฏผลดังนี้ ได้จำนวนแบบทดสอบที่ใช้ได้จำนวน 240 ข้อ ซึ่งมีค่าความยาก 20% ถึง 80% ค่าความเที่ยงเท่ากับ .90 นำแบบทดสอบมาจัดทำเป็นแบบทดสอบมาตรฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยต่อไป
งานวิจัยเรื่องที่2 เรื่อง"การพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยใช้หนังสือนิทานภาพและบัตรภาพ "
ผู้แต่ง พัฒราวดี ทัดเทียม
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของหนังสือนิทานภาพและบัตรภาพ และเพื่อเปรียบเทียบทักษะทางคณิตศาสตร์ที่เรียนโดยใช้หนังสือนิทานภาพและบัตรภาพระหว่างก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนบ้านนาดู่ ตำบลนาดี กิ่งอำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย ดำเนินการทดลองโดยใช้รูปแบบการทดลองแบบ One Group Pre – test Post – test Design เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย บัตรภาพ จำนวน 7 ชุด หนังสือนิทานภาพ จำนวน 7 เรื่อง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ซึ่งมีค่าความยากง่ายตั้งแต่ .53 - .80 มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่.27 - .80 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่า t ผลการวิจัยพบว่า 1.หนังสือนิทานภาพและบัตรภาพเพื่อพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.57/93.50 2.ทักษะคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาล 2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือภาพและบัตรภาพหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
ผู้แต่ง พัฒราวดี ทัดเทียม
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของหนังสือนิทานภาพและบัตรภาพ และเพื่อเปรียบเทียบทักษะทางคณิตศาสตร์ที่เรียนโดยใช้หนังสือนิทานภาพและบัตรภาพระหว่างก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนบ้านนาดู่ ตำบลนาดี กิ่งอำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย ดำเนินการทดลองโดยใช้รูปแบบการทดลองแบบ One Group Pre – test Post – test Design เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย บัตรภาพ จำนวน 7 ชุด หนังสือนิทานภาพ จำนวน 7 เรื่อง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ซึ่งมีค่าความยากง่ายตั้งแต่ .53 - .80 มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่.27 - .80 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่า t ผลการวิจัยพบว่า 1.หนังสือนิทานภาพและบัตรภาพเพื่อพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.57/93.50 2.ทักษะคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาล 2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือภาพและบัตรภาพหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
งานวิจัยเรื่อง1 เรื่อง"การจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถทางคณิตศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ของเด็กปฐมวัย"
ผู้แต่ง มะณีวัลย์ จันระวังยศ
ศึกษารูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถทางคณิตศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย และศึกษาความสามารถทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ เนื้อหาที่ศึกษาประกอบด้วย ด้านการนับ ตัวเลข การจับคู่ การจัดประเภท และการศึกษาเพื่อความเข้าใจและอธิบายกระบวนการพัฒนาความสามารถทางคณิตศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ โดยนำรูปแบบการวิจัยปฏิบัติการในห้องเรียนมาให้เพื่อนครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยได้ทราบแนวทางการปรับบทบาทครูและการพัฒนาเด็ก โดยสามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับธรรมชาติและบริบทของเด็กปฐมวัย
ผู้แต่ง มะณีวัลย์ จันระวังยศ
ศึกษารูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถทางคณิตศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย และศึกษาความสามารถทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ เนื้อหาที่ศึกษาประกอบด้วย ด้านการนับ ตัวเลข การจับคู่ การจัดประเภท และการศึกษาเพื่อความเข้าใจและอธิบายกระบวนการพัฒนาความสามารถทางคณิตศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ โดยนำรูปแบบการวิจัยปฏิบัติการในห้องเรียนมาให้เพื่อนครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยได้ทราบแนวทางการปรับบทบาทครูและการพัฒนาเด็ก โดยสามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับธรรมชาติและบริบทของเด็กปฐมวัย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)